จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

GMS: Greater Mekong Sub-Region

โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศ 
กัมพูชา-พม่า-สปป.ลาว-เวียดนาม-ไทย-จีนตอนใต้ (ยูนนาน) 

Greater Mekong Subregional (GMS)





1. ความเป็นมา
โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศหรือ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ เริ่มโครงการตั้งแต่ปี2535โดยรัฐบาลไทยได้ขอความช่วยเหลือทางวิชาการจากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย(Asean Development Bank: ADB) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในวงเงิน 100 ล้านบาท สรุปผลการศึกษา ดังนี้
การศึกษาระยะที่ 1กำหนดขอบเขตโครงการแต่ละสาขาและโครงการความร่วมมือที่มีโอกาสและศักยภาพการพัฒนา แล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ 2536
การศึกษาระยะที่ 2กำหนดขอบเขตและแผนการดำเนินงาน รวมทั้งข้อเสนอทางเทคนิคที่ใช้ในการพิจารณาและจัดลำดับความสำคัญของโครงการ ซึ่งแบ่งความร่วมมือเป็น สาขาใหญ่ ได้แก่ สาขาคมนาคมขนส่ง สาขาพลังงาน สาขาสื่อสารโทรคมนาคม สาขาท่องเที่ยว สาขาการค้าและการลงทุน สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสาขาสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
การศึกษาระยะที่ 3การจัดทำวิสัยทัศน์การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่ม แม่น้ำโขง ประเทศ จนถึงปี 2563 (GMS 2020) อยู่ระหว่างการดำเนินงาน

2. วัตถุประสงค์ของความร่วมมือ
2.1 ส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ เพื่ก่อ ให้เกิดการจ้างงานและยกระดับการครองชีพของประชาชนในพื้นที่
2.2 ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน
2.3 ให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
2.4 ส่งเสริมและเพิ่มขีดความ สามารถและโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก


3. พื้นที่โครงการ

·        ประกอบด้วยประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐเวียดนาม สหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาชนจีน (มณฑลยูนนาน)
·        พื้นที่โครงการในส่วนของไทย ประกอบด้วย
จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน และตาก
จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครพนม เลย สกลนคร หนองคาย อุดรธานี อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และมุกดาหาร
จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ปราจีนบุรี และสระแก้ว
4. การศึกษาศักยภาพการพัฒนากรอบความร่วมมือ
ผลการศึกษาระยะที่ 1เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาโครงการความร่วมมือระหว่างกันในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ดังนี้
1) ศักยภาพการพัฒนาความร่วมมือของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมีความเป็นไปได้สูงมากเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจที่เปิดเสรี การพึ่งพาประเทศเสรีอื่น ๆ และมีการกระจายอำนาจการบริหารมากขึ้น
2) ประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนุภูมิภาค อาทิ การขยายตัวทางการค้า การลงทุน และบริการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกัน และ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
3) แนวทางดำเนินงาน:รัฐบาลเป็นผู้นำการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน   และส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนด้านอุตสาหกรรมและการบริการต่าง ๆ ที่มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอย่างพอเพียง


4) สาขาที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาความร่วมมือ สาขา ได้แก่
1สาขาคมนาคมขนส่ง: คมนาคมทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ 

2. สาขาพลังงาน: การพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำ ก๊าซ และน้ำมัน 

3. สาขาสื่อสารโทรคมนาคม 
4. สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: การพัฒนาฝีมือแรงงาน การศึกษา และสาธารณสุข 
5. สาขาท่องเที่ยว สาขาสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สาขาการค้าและการลงทุน


5) ผลประโยชน์ที่คาดว่าไทยจะได้รับ
·        ขยายฐานทางอุตสาหกรรมและบริการของไทยจะกว้างขึ้น
·        การพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้านที่หลากหลายและราคาต่ำกว่าการนำเข้าจากประเทศนอกกลุ่ม โดยเฉพาะการพึ่งพาไฟฟ้าพลังน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน และแหล่งแร่ต่าง ๆ
·        ช่วยสนับสนุนการปรับโครงสร้างทางอุตสาหกรรมของไทยที่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้นโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเป็นฐานวัตถุดิบและอุตสาหกรรมพื้นฐานให้กับไทย
ผลการศึกษาระยะที่ 2แนวทางการดำเนินงาน การจัดลำดับความสำคัญของโครงการ และข้อเสนอทางเทคนิคในแต่ละสาขาความร่วมมือ ดังนี้
1) แนวทางการดำเนินงานและการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ
·        สนับสนุนโครงการที่มีลักษณะเป็นการปรับปรุงมากกว่าโครงการที่ก่อสร้างใหม่
·        โครงการที่มีลำดับความสำคัญไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับทั้ง ประเทศ  โดยจะให้ความ สำคัญกับโครงการที่ประเทศที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นชอบแล้ว
·        โครงการควรมีศักยภาพทางการค้าการลงทุนและระบบเศรษฐกิจเสรี
·        โครงการด้านคมนาคมขนส่งควรแบ่งการพัฒนาเป็นช่วง  เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันทีและเป็นรูปธรรม
·        ส่งเสริมโครงการที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันในอนุภูมิภาค และมีความเป็นไปได้ในการจัดหาแหล่งเงินทุน
2) ข้อเสนอด้านเทคนิคและแผนงานในแต่ละสาขาความร่วมมือ ดังนี้
·        สาขาคมนาคมขนส่ง: ศึกษาโดยบริษัท PADECO
(1) โครงข่ายเชื่อมโยงทางถนนโครงการที่มีลำดับความสำคัญสูงและการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ 5 โครงการ ได้แก่ ุ
·        เส้นทางกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-พนมเปญ-โฮจิมินห์ซิตี้-วังเตา ุ
·        เส้นทางเชื่อมโยงตามแนวตะวันตก-ตะวันออก (ไทย-สปป.ลาว-เวียดนาม)
1.  นครพนม-ท่าแขก-คำเกิด(ทางหมายเลข 8)-วินห์
2.  นครพนม-ท่าแขก (ทางหมายเลข 12)-ฮอนลา
3.  มุกดาหาร-สะหวันนะเขต (ทางหมายเลข 9)-ดองฮา-ดานัง ุ
·        เส้นทางเชื่อมโยงไทย-พม่า-จีน (แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก-เชียงตุง-ต้าหลั่ว-เชียงรุ่ง) ุ
·        เส้นทางเชื่อมโยงไทย-สปป.ลาว-จีน (เชียงของ-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น-เชียงรุ่ง)
(2) โครงข่ายการบิน: การศึกษาเพื่อปรับปรุงสนามบินในกัมพูชา พม่า เวียดนาม และยูนนาน
(3) โครงข่ายทางน้ำ : ศึกษาการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมทางแม่น้ำโขงจากจีนตอนใต้  ลงมายังประเทศไทย
·        สาขาพลังงาน: ศึกษาโดยบริษัท Norconsult
(1) การศึกษาอุปสงค์/อุปทานด้านพลังงานในอนุภูมิภาคการพัฒนาระบบเชื่อมโยง (Grid System) บทบาทภาคเอกชน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(2) เน้นการพัฒนาโครงการพลังงานขนาดเล็กและขนาดกลางซึ่งจะใช้ระยะเวลาและเงินลงทุนน้อยกว่าโครงการขนาดใหญ่
(3) โครงการที่มีลำดับความสำคัญสูง ได้แก่ การพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในสปป.ลาว โครงการสาละวิน โครงการท่อส่งก๊าซจากอ่าวมะตะบัน-ไทย และ


4.โครงการท่อส่งก๊าซ/น้ำมันจากภาคใต้ของเวียดนาม-ไทย

·        สาขาสิ่งแวดล้อม: ให้ความสำคัญกับการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติระหว่างกันภายในกลุ่ม และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการทำลายป่า คุณภาพน้ำ และการจัดการทรัพยากรน้ำ โดย
(1) สนับสนุนให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม โดยการปรับปรุงกฎหมาย มาตรฐานการฝึกอบรม การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การจัดการ และการควบคุมที่เหมาะสม
(2) การจัดทำระบบข้อมูลและการติดตามด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) และภาพถ่ายดาวเทียม
·        สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือด้านการฝึกอบรมบุคลากรทางการเกษตร สาธารณสุข พลังงาน การเงิน/ การธนาคาร บริการ และการวางแผนพัฒนา
·        สาขาการค้าและการลงทุน : สนับสนุนการขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนการเกื้อหนุนซึ่งกันและกันและการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศรวมทั้งการศึกษาปัญหา/อุปสรรคทางการค้าและการลงทุนอาทิ การกีดกันทางการค้า การลดขั้นตอนการลงทุน และอุปสรรคด้านกฎหมายต่าง ๆ
·        สาขาท่องเที่ยว : ความร่วมมือด้านท่องเที่ยวไม่จำกัดเฉพาะการส่งเสริมนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ แต่รวมถึงการท่องเที่ยวภายในอนุภูมิภาคด้วยกันเองด้วย โดยการพัฒนาประกอบด้วย
(1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ การปรับปรุงสนามบิน และการก่อสร้างโรงแรม 

(2) การพัฒนาบุคลการทางการท่องเที่ยว 

(3) การพัฒนาอย่างมีคุณภาพและสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น

·        สาขาโทรคมนาคม:การประเมินศักยภาพและวางแผนการพัฒนาในแต่ละประเทศโดยเน้นบทบาทภาครัฐและเอกชนการพัฒนาระบบมาตรฐานราคา และการลงทุนโครงการที่เอื้ออำนวยต่อการเชื่อมโยงเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค



5. การจัดองค์กรบริหาร โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศ 


ดำเนินงานภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน พ.ศ. 2538
5.1 โครงสร้างองค์กรระหว่างประเทศ
·        ระดับรัฐมนตรี ประเทศ : การจัดตั้งคณะกรรมการระดับรัฐมนตรีทำหน้าที่บริหารและกำกับดูแลโครงการสำหรับประเทศไทยรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
·        ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส : การแต่งตั้งคณะกรรมการเจ้าหน้าที่อาวุโส ประเทศ เพื่อกำกับดูแลงานด้านปฏิบัติงาน โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
·        ระดับคณะทำงาน : คณะทำงานรายสาขาอาทิสาขาคมนาคมขนส่งสาขาโทรคมนาคมสาขาพลังงานสาขาการค้าการลงทุน สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสาขาสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับประเทศไทย เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของหน่วยงานหลักเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
5.2 โครงสร้างองค์กรภายในประเทศ ุ
·        ระดับนโยบาย: คณะกรรมการประสานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (กพบ.): โดยมี
o        นายกรัฐมนตรี หรือ รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
o        เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ รองเลขา    ธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเลขานุการคณะ กรรมการฯ
o        สำนักงานคณะกรรมการประสานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน(สพบ.)ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใน
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นสำนักงานเลขานุการ
·        ระดับปฏิบัติ: ประกอบด้วยคณะอนุกรรมการรายสาขาจำนวน9ชุดโดยมีเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวง/หน่วยงานหลักเป็นประธาน ประกอบด้วย
(1)  คณะอนุกรรมการบริหารการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำตามแนวชายแดน โดยมีรัฐมนตรี  ว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน
(2)  คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีรองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน
(3)   คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านโทรคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีรองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน
(4)   คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นประธาน
(5)  คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านเกษตรและประมงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน
(6)  คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านโดยมีรองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นประธาน
(7)  คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนการเงิน และอุตสาหกรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์เป็นประธาน
(8)  คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประเทศเพื่อนบ้านโดยมีอธิบดีกรมวิเทศสหการเป็นประธาน
(9)   คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านศุลกากรกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีอธิบดีกรมศุลกากรเป็นประธาน
(10)  คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจด้านจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาการเกษตร และวางแผนการใช้ที่ดิน ตามแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น