GMS: Greater Mekong Sub-Region
โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ
กัมพูชา-พม่า-สปป.ลาว-เวียดนาม-ไทย-จีนตอนใต้ (ยูนนาน)
Greater Mekong Subregional (GMS)
1. ความเป็นมา
โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศหรือ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ เริ่มโครงการตั้งแต่ปี2535โดยรัฐบาลไทยได้ขอความช่วยเหลือทางวิชาการจากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย(Asean Development Bank: ADB) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในวงเงิน 100 ล้านบาท สรุปผลการศึกษา ดังนี้
การศึกษาระยะที่ 1: กำหนดขอบเขตโครงการแต่ละสาขาและโครงการความร่วมมือที่มีโอกาสและศักยภาพการพัฒนา แล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ 2536
การศึกษาระยะที่ 2: กำหนดขอบเขตและแผนการดำเนินงาน รวมทั้งข้อเสนอทางเทคนิคที่ใช้ในการพิจารณาและจัดลำดับความสำคัญของโครงการ ซึ่งแบ่งความร่วมมือเป็น 7 สาขาใหญ่ ได้แก่ สาขาคมนาคมขนส่ง สาขาพลังงาน สาขาสื่อสารโทรคมนาคม สาขาท่องเที่ยว สาขาการค้าและการลงทุน สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสาขาสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
การศึกษาระยะที่ 3: การจัดทำวิสัยทัศน์การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่ม แม่น้ำโขง 6 ประเทศ จนถึงปี 2563 (GMS 2020) อยู่ระหว่างการดำเนินงาน
2. วัตถุประสงค์ของความร่วมมือ
2.1 ส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ เพื่อก่อ ให้เกิดการจ้างงานและยกระดับการครองชีพของประชาชนในพื้นที่
2.2 ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน
2.3 ให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
2.4 ส่งเสริมและเพิ่มขีดความ สามารถและโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก
3. พื้นที่โครงการ
· ประกอบด้วยประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐเวียดนาม สหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาชนจีน (มณฑลยูนนาน)
· พื้นที่โครงการในส่วนของไทย ประกอบด้วย
9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน และตาก
8 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครพนม เลย สกลนคร หนองคาย อุดรธานี อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และมุกดาหาร
2 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ปราจีนบุรี และสระแก้ว
4. การศึกษาศักยภาพการพัฒนากรอบความร่วมมือ
ผลการศึกษาระยะที่ 1: เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาโครงการความร่วมมือระหว่างกันในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ดังนี้
1) ศักยภาพการพัฒนาความร่วมมือของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมีความเป็นไปได้สูงมากเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจที่เปิดเสรี การพึ่งพาประเทศเสรีอื่น ๆ และมีการกระจายอำนาจการบริหารมากขึ้น
2) ประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนุภูมิภาค อาทิ 1 การขยายตัวทางการค้า การลงทุน และบริการ 2 การถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกัน และ 3 การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
3) แนวทางดำเนินงาน:รัฐบาลเป็นผู้นำการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนด้านอุตสาหกรรมและการบริการต่าง ๆ ที่มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอย่างพอเพียง
4) สาขาที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาความร่วมมือ 7 สาขา ได้แก่
1. สาขาคมนาคมขนส่ง: คมนาคมทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
2. สาขาพลังงาน: การพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำ ก๊าซ และน้ำมัน
3. สาขาสื่อสารโทรคมนาคม
4. สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: การพัฒนาฝีมือแรงงาน การศึกษา และสาธารณสุข
5. สาขาท่องเที่ยว ' สาขาสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ' สาขาการค้าและการลงทุน
5) ผลประโยชน์ที่คาดว่าไทยจะได้รับ
· ขยายฐานทางอุตสาหกรรมและบริการของไทยจะกว้างขึ้น
· การพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้านที่หลากหลายและราคาต่ำกว่าการนำเข้าจากประเทศนอกกลุ่ม โดยเฉพาะการพึ่งพาไฟฟ้าพลังน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน และแหล่งแร่ต่าง ๆ
· ช่วยสนับสนุนการปรับโครงสร้างทางอุตสาหกรรมของไทยที่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้นโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเป็นฐานวัตถุดิบและอุตสาหกรรมพื้นฐานให้กับไทย
ผลการศึกษาระยะที่ 2: แนวทางการดำเนินงาน การจัดลำดับความสำคัญของโครงการ และข้อเสนอทางเทคนิคในแต่ละสาขาความร่วมมือ ดังนี้
1) แนวทางการดำเนินงานและการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ
· สนับสนุนโครงการที่มีลักษณะเป็นการปรับปรุงมากกว่าโครงการที่ก่อสร้างใหม่
· โครงการที่มีลำดับความสำคัญไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับทั้ง 6 ประเทศ โดยจะให้ความ สำคัญกับโครงการที่ประเทศที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นชอบแล้ว
· โครงการควรมีศักยภาพทางการค้าการลงทุนและระบบเศรษฐกิจเสรี
· โครงการด้านคมนาคมขนส่งควรแบ่งการพัฒนาเป็นช่วง ๆ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันทีและเป็นรูปธรรม
· ส่งเสริมโครงการที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันในอนุภูมิภาค และมีความเป็นไปได้ในการจัดหาแหล่งเงินทุน
2) ข้อเสนอด้านเทคนิคและแผนงานในแต่ละสาขาความร่วมมือ ดังนี้
· สาขาคมนาคมขนส่ง: ศึกษาโดยบริษัท PADECO
(1) โครงข่ายเชื่อมโยงทางถนนโครงการที่มีลำดับความสำคัญสูงและการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ 5 โครงการ ได้แก่ ุ
· เส้นทางกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-พนมเปญ-โฮจิมินห์ซิตี้-วังเตา ุ
· เส้นทางเชื่อมโยงตามแนวตะวันตก-ตะวันออก (ไทย-สปป.ลาว-เวียดนาม)
1. นครพนม-ท่าแขก-คำเกิด(ทางหมายเลข 8)-วินห์
2. นครพนม-ท่าแขก (ทางหมายเลข 12)-ฮอนลา
3. มุกดาหาร-สะหวันนะเขต (ทางหมายเลข 9)-ดองฮา-ดานัง ุ
· เส้นทางเชื่อมโยงไทย-พม่า-จีน (แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก-เชียงตุง-ต้าหลั่ว-เชียงรุ่ง) ุ
· เส้นทางเชื่อมโยงไทย-สปป.ลาว-จีน (เชียงของ-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น-เชียงรุ่ง)
(2) โครงข่ายการบิน: การศึกษาเพื่อปรับปรุงสนามบินในกัมพูชา พม่า เวียดนาม และยูนนาน
(3) โครงข่ายทางน้ำ : ศึกษาการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมทางแม่น้ำโขงจากจีนตอนใต้ ลงมายังประเทศไทย
· สาขาพลังงาน: ศึกษาโดยบริษัท Norconsult
(1) การศึกษาอุปสงค์/อุปทานด้านพลังงานในอนุภูมิภาคการพัฒนาระบบเชื่อมโยง (Grid System) บทบาทภาคเอกชน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(2) เน้นการพัฒนาโครงการพลังงานขนาดเล็กและขนาดกลางซึ่งจะใช้ระยะเวลาและเงินลงทุนน้อยกว่าโครงการขนาดใหญ่
(3) โครงการที่มีลำดับความสำคัญสูง ได้แก่ 1 การพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในสปป.ลาว 2 โครงการสาละวิน 3 โครงการท่อส่งก๊าซจากอ่าวมะตะบัน-ไทย และ
4.โครงการท่อส่งก๊าซ/น้ำมันจากภาคใต้ของเวียดนาม-ไทย
· สาขาสิ่งแวดล้อม: ให้ความสำคัญกับการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติระหว่างกันภายในกลุ่ม และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการทำลายป่า คุณภาพน้ำ และการจัดการทรัพยากรน้ำ โดย
(1) สนับสนุนให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม โดยการปรับปรุงกฎหมาย มาตรฐานการฝึกอบรม การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การจัดการ และการควบคุมที่เหมาะสม
(2) การจัดทำระบบข้อมูลและการติดตามด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) และภาพถ่ายดาวเทียม
· สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือด้านการฝึกอบรมบุคลากรทางการเกษตร สาธารณสุข พลังงาน การเงิน/ การธนาคาร บริการ และการวางแผนพัฒนา
· สาขาการค้าและการลงทุน : สนับสนุนการขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนการเกื้อหนุนซึ่งกันและกันและการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศรวมทั้งการศึกษาปัญหา/อุปสรรคทางการค้าและการลงทุนอาทิ การกีดกันทางการค้า การลดขั้นตอนการลงทุน และอุปสรรคด้านกฎหมายต่าง ๆ
· สาขาท่องเที่ยว : ความร่วมมือด้านท่องเที่ยวไม่จำกัดเฉพาะการส่งเสริมนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ แต่รวมถึงการท่องเที่ยวภายในอนุภูมิภาคด้วยกันเองด้วย โดยการพัฒนาประกอบด้วย
(1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ การปรับปรุงสนามบิน และการก่อสร้างโรงแรม
(2) การพัฒนาบุคลการทางการท่องเที่ยว
(3) การพัฒนาอย่างมีคุณภาพและสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น
· สาขาโทรคมนาคม:การประเมินศักยภาพและวางแผนการพัฒนาในแต่ละประเทศโดยเน้นบทบาทภาครัฐและเอกชนการพัฒนาระบบมาตรฐานราคา และการลงทุนโครงการที่เอื้ออำนวยต่อการเชื่อมโยงเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค
5. การจัดองค์กรบริหาร โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ
ดำเนินงานภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน พ.ศ. 2538
5.1 โครงสร้างองค์กรระหว่างประเทศ
· ระดับรัฐมนตรี 6 ประเทศ : การจัดตั้งคณะกรรมการระดับรัฐมนตรีทำหน้าที่บริหารและกำกับดูแลโครงการสำหรับประเทศไทยรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
· ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส : การแต่งตั้งคณะกรรมการเจ้าหน้าที่อาวุโส 6 ประเทศ เพื่อกำกับดูแลงานด้านปฏิบัติงาน โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
· ระดับคณะทำงาน : คณะทำงานรายสาขาอาทิสาขาคมนาคมขนส่งสาขาโทรคมนาคมสาขาพลังงานสาขาการค้าการลงทุน สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสาขาสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับประเทศไทย เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของหน่วยงานหลักเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
5.2 โครงสร้างองค์กรภายในประเทศ ุ
· ระดับนโยบาย: คณะกรรมการประสานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (กพบ.): โดยมี
o นายกรัฐมนตรี หรือ รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
o เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ รองเลขา ธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเลขานุการคณะ กรรมการฯ
o สำนักงานคณะกรรมการประสานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน(สพบ.)ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใน
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นสำนักงานเลขานุการ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นสำนักงานเลขานุการ
· ระดับปฏิบัติ: ประกอบด้วยคณะอนุกรรมการรายสาขาจำนวน9ชุดโดยมีเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวง/หน่วยงานหลักเป็นประธาน ประกอบด้วย
(1) คณะอนุกรรมการบริหารการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำตามแนวชายแดน โดยมีรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน
(2) คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีรองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน
(3) คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านโทรคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีรองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน
(4) คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นประธาน
(5) คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านเกษตรและประมงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน
(6) คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านโดยมีรองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นประธาน
(7) คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนการเงิน และอุตสาหกรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์เป็นประธาน
(8) คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประเทศเพื่อนบ้านโดยมีอธิบดีกรมวิเทศสหการเป็นประธาน
(9) คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านศุลกากรกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีอธิบดีกรมศุลกากรเป็นประธาน
(10) คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจด้านจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาการเกษตร และวางแผนการใช้ที่ดิน ตามแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น