จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

องค์การสหประชาชาติ





องค์การสหประชาชาติ ( The United Nations )


 สหประชาชาติ (อังกฤษUnited Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ (ตัวย่อ: UNO) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดร่วมมือกันของกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติถูกก่อตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงในปี พ.ศ. 2488 เพื่อแทนที่สันนิบาตชาติ ในการยับยั้งสงครามระหว่างประเทศ และเพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจาเพื่อยุติข้อพิพาท สหประชาชาติมีองค์การย่อย ๆ จำนวนมากเพื่อดำเนินการตามภารกิจ

วัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ
องค์การสหประชาชาติได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 เมื่อกฎบัตรสหประชาชาติมีผลบังคับใช้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติไว้ ดังนี้
  1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติ และ ความมั่นคงระหว่างประเทศ
  2. เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งปวง โดยยึดการเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิอันเท่าเทียมกัน
  3. เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม หรือ มนุษยธรรม และ การส่งเสริมสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน และ เสรีภาพขั้นมูลพื้นฐานสำหรับทุกคนโดยไม่เลือกปฎิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือ ศาสนา
  4. เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับการประสานงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกันในอันที่จะบรรลุจุดหมายปลายทางร่วมกัน



หลักการขององค์การสหประชาชาติ

 เพื่อให้องค์การสหประชาชาติสามารถดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ กฎบัตรสหประชาชาติได้วางหลักการที่องค์การสหประชาชาติ และ ประเทศสมาชิกจะพึงยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนอนการระหว่างประเทศ ดังนี้
  1. หลักความเสมอภาคในอธิปไตย รัฐย่อมมีอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์
  2. หลักความมั่นคงร่วมกัน เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และ ความมั่นคงร่วมกัน ดำเนินมาตรการร่วมกัน เพื่อป้องกัน และขจัดการคุกคามต่อสันติภาพ
  3. หลักเอกภาพระหว่างมหาอำนาจ ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ รัสเซีย และ จีน
  4. หลังการไม่ใช้กำลัง และ การระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี
  5. หลักความเป็นสากลขององค์การ เปิดกว้างแก่รัฐที่รักสันติทั้งปวง
  6. หลักการเคารพเขตอำนาจศาลภายใน ปัญหาใดที่ประเทศสมาชิกอ้างว่าเป็นกิจการภายใน สหประชาชาติจะไม่มีสิทธิหรืออำนาจเข้าแทรกแซง
องค์กรหลังขององค์การสหประชาชาติ
สหประชาชาติมีการดำเนินงานเกือบทั่งทั้งโลกโดยผ่านหน่วยงานหลัก 6 องค์กร ซึ่งมี
  1. สมัชชา  สมัชชาเป็นที่รวมของประเทศสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ซึ่งทุกประเทศมีสิทธิออกเสียงได้ 1 เสียง มีหน้าที่พิจารณาและให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ  ภายในกรอบของกฎบัตรสหประชาชาติ แม้ว่าสมัชชากำหนดเป้าหมายและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาต่างๆ เรียกร้องให้มีการประชุมระดับโลกในหัวข้อสำคัญๆ และกำหนดปีสากลเพื่อเน้นความสนใจในประเด็นที่สำคัญๆ ของโลก สมัชชามีการประชุมสมัยสามัญปีละครั้ง การลงคะแนนเสียงในเรื่องทั่วๆ ใช้เสียงข้างมากแต่ถ้าเป็นปัญหาสำคัญจะต้องได้คะแนน 2 ใน 3 ของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
  2. คณะรัฐมนตรีความมั่นคงมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สมาชิกถาวร มี 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศษ รัสเซีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และ สมาชิกชั่วคราว มี 10 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี ในกรณีประเทศสมาชิกถาวรประเทศใดประเทศหนึ่งออกเสียงคัดค้าน ถือว่าเป็นการใช้สิทธิยับยั้ง ( Veto ) อันจะมีผลทำให้เรื่องนั้นๆ ตกไปในยุคของสงครามเย็นการดำเนินงานของคณะมนตรีความมั่นคงประสบกับสภาวะชะงักงัน เนื่องจากการใช้สิทธิยับยั้งของประเทศมหาอำนาจ สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงไม่ว่าจะเป็นสมาชิกประจำหรือไม่ก็ตาม จะต้องงดเว้นออกเสียง เมื่อมีการพิจารณาปัญหาข้อพิพาทที่ตนเป็นคู่กรณีด้วย
  3. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม มีหน้าที่สำคัญ คือ การส่งเสริมและจัดทำข้อเสนอแนะกิจกรรม ที่มุ่งเน้นความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงเรื่องการค้า การขนส่ง การพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาเศรษฐกิจ ประชากรและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของมนุษย์ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วยสมาชิก 54 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี การลงคะแนนเสียงใช้คะแนนเสียงข้างมาก ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการประจำภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเซียและแปซิฟิก ( The Economic and Social Commission for Asia and The Pacific : ESCAP ) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
  4. คณะมนตรีภาวะทรัสตี ประกอบด้วย จีน ฝรั่งเศษ รัสเซีย อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา มีหน้าที่ดูแลดินแดนในภาวะทรัสตีที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ รับผิดชอบอยู่เพื่อให้มีการดำเนินงานเป็นขั้นตอนอันจะนำไปสู่การปกครองตนเอง หรือการได้รับเอกราช เดิมดินแดนในภาวะทรัสตีมี 11 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา และมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งได้รับเอกราชไปหมดแล้ว ปาเลา ( Palau ) เป็นดินแดนในภาวะทรัสตีแห่งสุดท้าย เดิมอยู่ในความดูแลของสหรัฐอเมริกาได้รับเอกราชเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1994 ส่งผลให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีหยุดการปฎิบัติงานอย่างเป็นทางการและจะประชุมเฉพาะเรื่องพิเศษตามความจำเป็น
  5. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ “ ศาลโลก “ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นองค์การตุลาการที่สำคัญของสหประชาชาติ ประกิบด้วยผู้พิพากษา จำนวน 15 นาย อยู่ในตำแหน่งคราวละ 9 ปี คู่ความที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้จะต้องเป็นรัฐคู่กรณีซึ่งเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ถ้ามิใช่สมาชิกจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมัชชา เอกชน จะนำคดีมาสู่ศาลนี้ไม่ได้
  6. สำนักเลขาธิการ ทำหน้าที่บริหารงานของสหประชาชาติภายใต้การนำของเลขาธิการสหประชาชาติเลือกตั้งโดยสมัชชาด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสองในสามทั้งนี้โดยคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคง เลขาธิการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี โดยหลักการเลขาธิการจะมาจากประเทศที่เป็นกลางหรือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หร้าที่สำคัญของเลขาธิการ คือ การรายงานสถานการณ์ระหว่างประเทศที่กระทบต่อความมั่นคงระหว่างประเทศให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบ และ ทำหน้าที่ทางการทูตของสหประชาชาติ




นอกจากนั้นยังมีองค์กรพิเศษที่ทำงานในฐานะองค์การสหประชาชาติอีกหลายองค์การ เช่น ทบวงการชำนาญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ( Specialized Agencies ) ซึ่งเป็นองค์การอิสระ และ ปฎิบัติงานเฉพาะด้าน ทำหน้าที่ในการส่งเสริมเศรษฐกิจ และ สังคมของประเทศสมาชิกซึ่งจัดตั้งขึ้นตามความตกลงของรัฐบาล ในปัจจุบันมี 16 องค์การ ได้แก่ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( ILO ) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ( FAO ) องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ( UNESCO ) องค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ ( ICAO ) ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนาหรือธนาคารโลก ( IBRD/World Bank ) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( IMF ) องค์การอนามัยโลก ( WHO ) สหภาพไปรษณีย์สากล ( UPU ) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประทศ ( ITU ) สมาคมพัฒนาประเทศระหว่างประเทศ ( IDA ) บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ( IFC ) องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ( WMO )  องค์การกิจการทางทะเลระหว่างประเทศ ( IMO ) องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ( WIPO)  กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรม ( IFAD ) องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ ( UNIDO ) และมีองค์กรอิสระซึ่งมิใช่ทบวงชำนัญพิเศษ ได้แก่ ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ( GATT ) และ สำนักงานพลังปรมาณูระหว่างประเทศ ( IAEA ) เป็นต้น

 ในปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ ได้จัดตั้งทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติเพื่อปฎิบัติงานอันใดอันหนึ่งหรือเฉพาะด้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการส่งเสริมทางเศรษฐกิจ สังคม และ การศึกษา ในสหประชาชาติ ( UNHCR ) ซึ่งได้ดำเนินการในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติมากมาย ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และ การเมือง องค์การสหประชาชาติ จึงเป็นองค์การหลักที่มีความสำคัญ

เลขาธิการUN คนปัจจุบัน คือ นาย บันกีย์ มูล







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น